เมนู

สัตบุรุษนั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคลในท่ามกลาง
พระอรหันต์.
[1482] ความสวัสดีเหล่านี้แล ผู้รู้สรรเสริญ
แล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญา
พึงเสพความสวัสดีเหล่านั้นไว้ในโลกนี้ ก็ใน
มงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล
และมุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคล
จริง ๆ ไม่มีเลย.

จบ มหามังคลชาดกที่ 15

อรรถกถามหามังคลชาดกที่ 15



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
มหามงคลสูตร จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กึสุ นโร ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในพระนครราชคฤห์ บุรุษผู้ 1 อยู่ท่ามกลาง
มหาชน ที่ประชุมกัน ณ เรือนรับแขก พูดขึ้นว่า วันนี้มงคลกิริยาจะ
มีแก่เรา ดังนี้ แล้วลุกขึ้นเดินไปด้วยกรณียกิจอย่าง 1 บุรุษอีกคน
1 ได้ฟังคำบุรุษนั้นแล้ว กล่าวว่า บุรุษนี้กล่าวว่า มงคล แล้วก็ไปเสีย
อะไรหนอที่ชื่อว่ามงคล ? บุรุษอีกคน 1 นอกจาก 2 คนที่กล่าวแล้ว
กล่าวว่า การเห็นรูปเป็นมงคลอย่างยิ่ง ความจริงคนบางคนลุกขึ้นแต่

เช้าทีเดียว ได้เห็นโคเผือกก็ดี หญิงมีครรภ์นอนอยู่ก็ดี ปลาตะเพียน
ก็ดี หม้อเต็มด้วยน้ำก็ดี เนยข้นก็ดี เนยใสก็ดี ผ้าใหม่ก็ดี ข้าวปายาส
ก็ดี การเห็นอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นมงคล นอกจากนี้ไม่ชื่อว่าเป็นมงคล คน
บางพวกก็พากันยินดีถ้อยคำที่ผู้นั้นพูดว่า พูดถูก.
อีกคน 1 คัดค้านว่า นั่นไม่ใช่มงคล การสดับฟังชื่อว่าเป็น
มงคล คนบางคนได้ฟังคำคนกล่าวว่า สมบูรณ์ เจริญ สบาย บริโภค
เคี้ยวกิน ดังนี้ การได้ฟังอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นมงคล นอกจากนั้นไม่
ชื่อว่าเป็นมงคล คนบางพวกก็พากันยินดีถ้อยคำนี้ผู้นั้นพูดว่า พูดถูก.
อีกคน 1 คัดค้านว่า นั้นไม่ใช่มงคล การจับต้องชื่อว่าเป็น
มงคล ความจริงคนบางคนลุกขึ้นแต่เช้าทีเดียว ได้จับต้องแผ่นดินหรือ
หญ้าเขียว ๆ โคมัยสด ผ้าที่สะอาด ปลาตะเพียน ทอง เงิน หรือ
โภชนะ การจับต้องอย่างนี้ชื่อว่าเป็นมงคล นอกจากนี้ไม่ชื่อว่าเป็น
มงคล คนบางพวกก็พากันยินดีถ้อยคำที่ผู้นั้นพูดว่า พูดถูก. คนทั้งหลาย
ได้มีความเห็นแตกต่างกัน เป็น 3 จำพวก 3 อย่างนี้ คือ พวกทิฏฐ-
มังคลิกะ พวกสุตมังคลิกะ และพวกมุตมังคลิกะ ต่างไม่อาจมีความเห็น
ร่วมกันได้ เทวดาทั้งหลายตั้งต้นแต่ภุมมเทวดาตลอดถึงพรหมโลก ก็
ไม่รู้โดยถ่องแท้ว่า สิ่งนี้เป็นมงคล.
ท้าวสักกะทรงพระดำริว่า ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้อื่นนอกจาก
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าสามารถที่จะกล่าวแก้มงคลปัญหานี้ได้ไม่มี เรา

จักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลถามปัญหานี้ ครั้นถึงเวลาราตรี ท้าวเธอ
จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วประคองอัญชลี ทลถามปัญหา
ด้วยคาถาว่า พหู เทวา มนุสฺสา จ ดังนี้ เป็นต้น ลำดับนั้น
พระศาสดาตรัสมหามงคล 38 ประการ ด้วยคาถา 2 คาถา แก่
ท้าวสักกะ เมื่อมงคลสูตรจบลง เทวดาประมาณแสนโกฏิ ได้บรรลุ
พระอรหัต ที่เป็นพระโสดาบันเป็นต้น นับไม่ถ้วน ท้าวสักกะทรงสดับ
มงคลแล้ว เสด็จไปวิมานของพระองค์.
เมื่อพระศาสดาตรัสมงคลแล้ว มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาก็พากัน
ยินดีว่า ตรัสถูก ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันสรรเสริญพระคุณ
ของพระศาสดาในธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงแก้
มงคลปัญหาซึ่งพ้นวิสัยของผู้อื่น ตัดความรำคาญใจของมนุษย์และเทวดา
เสียได้ ดุจยังดวงจันทร์ให้ตั้งขึ้นในท้องฟ้าฉะนั้น อาวุโสทั้งหลาย
พระตถาคตทรงมีพระปัญญามากถึงเพียงนี้ พระศาสดาเสด็จมาตรัสถาม
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ?
เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การแก้มงคลปัญหาของเราผู้บรรลุสัมโพธิญาณแล้วในบัดนี้ ไม่น่าอัศ-
จรรย์ เรานั้น เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ประพฤติจริยธรรมอยู่
ได้กล่าวแก้มงคลปัญหา ตัดความสงสัยของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เสียได้ ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้อุบัติในตระกูลพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วย
ทรัพย์สมบัติในนิคมตำบล 1 มารดาบิดาได้ตั้งชื่อให้ว่า รักขิตกุมาร
รักขิตกุมารนั้น ครั้นเจริญวัย เรียนศิลปะที่เมืองตักกศิลาสำเร็จแล้ว
มีภรรยา เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไป จึงตรวจตราทรัพย์สมบัติ แล้วเกิด
ความสังเวชใจ ได้ให้ทานเป็นการใหญ่ ละกามเสีย บวชในดินแดน
หิมพานต์ ยังฌานและอภิญญาให้เกิด มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็น
อาหาร อยู่ ณ ประเทศแห่ง 1 พระโพธิสัตว์ได้มีอันเตวาสิกมาเป็น
บริวารมากขึ้น โดยลำดับถึง 500 คน.
อยู่มาวัน 1 ดาบสเหล่านั้นเข้าไปหาพระโพธิสัตว์นมัสการ
แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ สมัยเมื่อเป็นฤดูฝน ข้าพเจ้าทั้งหลาย
จักลงจากหิมวันตประเทศ จาริกไปตามชนบท เพื่อเสพรสเค็มและรส
เปรี้ยว ด้วยอาการอย่างนี้ ร่างกายของพวกข้าพเจ้าจักแข็งแรง ทั้งจัก
เป็นการพักแข้งด้วย เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน
จงไปกันเถิด เราจักอยู่ที่นี่แหละ ดาบสเหล่านั้นจึงนมัสการพระโพธิ-
สัตว์ แล้วลงจากดินแดนหิมพานต์ จาริกไปถึงพระนครพาราณสี อยู่
ในพระราชอุทยาน สักการะและความนับถือได้มีแก่ดาบสเหล่านั้นเป็น
อันมาก.
ภายหลังวัน 1 มหาชนประชุมกันที่เรือนรับแขกในพระนคร-
พาราณสี ตั้งมงคลปัญหาขึ้น ข้อความทั้งหมดพึงทราบตามนัยแห่งเรื่อง

ในปัจจุบันนั้นแหละ ก็ในคราวนั้นมหาชนไม่เห็นผู้ที่สามารถจะแก้
มงคลปัญหา ตัดความสงสัยของพวกมนุษย์ได้ จึงพากันไปพระราช-
อุทยาน ถามมงคลปัญหากะหมู่ฤาษี ฤาษีทั้งหลายจึงปรึกษากะพระราชา
ว่า มหาบพิตร อาตมาทั้งหลายไม่อาจแก้มงคลปัญหานี้ได้ แต่อาจารย์
ของพวกอาตมา ชื่อว่ารักขิตดาบส เป็นผู้มีปัญญามาก อยู่ ณ ดินแดน
หิมพานต์ ท่านจักแก้มงคลปัญหานี้อย่างจับใจของมนุษย์และเทวดา
ทั้งหลาย พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าดินแดน
หิมพานต์ใกล้และไปยาก พวกข้าพเจ้าไม่อาจไปที่นั้นได้ ถ้าจะให้ดีแล้ว
พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายนี่แหละจงไปสำนักอาจารย์ ถามปัญหาแล้วเรียน
จำไว้กลับมาบอกแก่พวกข้าพเจ้า.
ดาบสเหล่านั้นรับว่า ดีแล้ว แล้วไปสำนักอาจารย์นมัสการแล้ว
เมื่ออาจารย์ทำปฏิสันถารแล้วถามถึงคุณธรรมของพระราชาและชนบทที่
จาริกไป จึงกราบเรียนอุบัติเหตุแห่งทิฏฐมงคลเป็นต้นนั้นตั้งแต่ต้นมา
แล้วประกาศความที่พระราชาอาราธนา และตนอยากจะรู้ปัญหา จึง
มาหาอาจารย์ วิงวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอโอกาส
ขอท่านจงกล่าวมงคลปัญหาทำให้แจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด ลำดับ
นั้น. ดาบสอันเตวาสิกผู้ใหญ่ เมื่อจะถามอาจารย์ จึงกล่าวคาถาที่ 1
ว่า :-
นรชนรู้วิชาอะไรก็ดี รู้สุตะทั้งหลายอะไร
ก็ดี กระซิบถามกันว่า อะไรเป็นมงคลในเวลา

ปรารถนามงคล นรชนนั้นจะทำอย่างไร จึงจะ
เป็นผู้อันความสวัสดีคุ้มครองแล้ว ทั้งในโลกนี้
และโลกหน้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเล ได้แก่ ในเวลาปรารถนา
มงคล. บทว่า วิชฺชํ ได้แก่ เวท. บทว่า สุตานํ ได้แก่ ปริยัติ
ที่ตนควรศึกษา. ศัพท์ว่า จ ในคำว่า อสฺมึ จ นี้ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า โสตฺถาเนน ได้แก่ มงคลอันเป็นเครื่องนำความสวัสดีมาให้.
ข้อนี้มีอธิบายว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์นรชนรู้เวทอะไร ในบรรดา
เวท 3 อย่างก็ดี รู้สุตตปริยัติอะไรในระหว่างสุตะทั้งหลายก็ดี เมื่อ
ต้องการมงคลยังกระซิบถามกันอยู่ว่า อะไรเป็นมงคลในเวลาปรารถนา
มงคล นรชนนั้นจะทำอย่างไร คือในการกระซิบถามกันเป็นต้นเหล่า
นั้น จะทำอย่างไร คือโดยนิยามอย่างไร จึงจะเป็นผู้อันความสวัสดี
คืออันมงคลที่ปราศจากโทษคุ้มครองแล้ว คือรักษาแล้ว ทั้งในโลกนี้
และโลกหน้า ขอท่านให้ถือเอาประโยชน์โลกนี้และประโยชน์โลกหน้า
แสดงอธิมงคลแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.
ครั้นอันเตวาสิกผู้ใหญ่ถามมงคลปัญหาอย่างนี้แล้ว พระมหา-
สัตว์เมื่อจะตัดความสงสัยของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แสดงมงคล
ด้วยพุทธลีลาว่า นี้ด้วย นี้ด้วย เป็นมงคล จึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-

เทวดาและพรหมทั้งปวง ทีฆชาติและ
สรรพสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลใดอ่อนน้อม
อยู่เป็นนิจด้วยเมตตา บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
เมตตาของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคล
ในสัตว์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ได้แก่ อันบุคคลใด. บทว่า
เทวา ได้แก่ กามาวจรเทพทั้งหมด ตั้งต้นแต่ภุมมเทพ. บทว่า ปิตโร จ
ได้แก่ รูปาวจรพรหมที่เหนือชั้นขึ้นไปกว่าภุมมเทพนั้น. บทว่า สิรึสปา
ได้แก่ ทีฆชาติทั้งหลาย. บทว่า สพฺพภูตานิ จาปิ ได้แก่ สัตว์
ทั้งหลาย แม้ทุกจำพวกที่เหลือจากที่ระบุแล้ว. บทว่า เมตฺตาย นิจฺจํ
อปจิตานิ โหนฺติ
ความว่า สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น อันบุคคลใดอ่อนน้อม
คือนับถืออยู่ด้วยเมตตาภาวนา อันถึงความเป็นอัปปนา ซึ่งเป็นไปแล้ว
ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปตลอด 10 ทิศ. บทว่า ภูเตสุ เว ความว่า
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวเมตตาภาวนานั้นของบุคคลนั้นว่า เป็นสวัสดิมงคล
ในบรรพสัตว์ทั้งหลาย คือเป็นมงคลที่ปราศจากโทษ อันเป็นไปแล้ว
ตลอดกาลนิรันดร.
จริงอยู่ บุคคลผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา ย่อมเป็นที่รักของสัตว์
ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้ไม่กำเริบเพราะความเพียร ด้วยเหตุดังกล่าวนี้
บุคคลนั้น จึงเป็นผู้อันมงคลนี้รักษาคุ้มครอง.

พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงมงคลที่ 1 ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดง
มงคลที่ 2 เป็นต้น จึงกล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า :-
ผู้ใดประพฤติถ่อมตนแก่สัตว์โลกทั้งปวง
แต่หญิงและชายพร้อมทั้งเด็ก เป็นผู้อดทนต่อ
ถ้อยคำชั่วร้าย ไม่กล่าวลำเลิกถึงเรื่องเก่า ๆ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความอดกลั้นของผู้นั้นว่า
เป็นสวัสดิมงคล.
ผู้ใดเป็นผู้มีปัญญาดี มีความรู้ปรุโปร่ง
ในเมื่อเหตุเกิดขึ้น ไม่ดูหมิ่นมิตรสหายทั้งหลาย
ด้วยศิลปะ สกุล ทรัพย์ และด้วยชาติ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้
นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสหายทั้งหลาย.
สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ชอบพอคุ้นเคย
กัน เป็นมิตรแท้ของผู้ใด ผู้มีคำพูดมั่นคง
อนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร แบ่งปัน
ทรัพย์ของตนให้แก่มิตร บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
การได้ประโยชน์เพราะอาศัยมิตร และการ

แบ่งปันของผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดีมงคลในมิตร
ทั้งหลาย.
ภรรยาของผู้ใดมีวัยเสมอกัน อยู่ร่วมกัน-
ด้วยความปรองดอง ประพฤติตามใจกัน เป็น
คนใคร่ธรรม ไม่เป็นหญิงหมัน มีศีลโดย
สมควรแก่สกุล รู้จักปรนนิบัติสามี บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวคุณความดีในภรรยาของผู้นั้น ว่า
เป็นสวัสดีมงคลในภรรยาทั้งหลาย.
พระราชาผู้เป็นเจ้าชีวิต ทรงพระอิสริย-
ยศ ทรงทราบความสะอาด และความขยัน
หมั่นเพียรของราชเสวกคนใด และทรงทราบ
ราชเสวกคนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับ
พระองค์ และทรงทราบราชเสวกคนใดว่า มี
ความจงรักภักดีต่อพระองค์ บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวคุณความดีของราชเสวกนั้น ๆ ว่า เป็น
สวัสดิมงคลในพระราชาทั้งหลาย.
บุคคลใดมีศรัทธา ให้ข้าวน้ำ ให้ดอกไม้
ของหอม และเครื่องลูบไล้ มีจิตเลื่อมใส

บันเทิงใจ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวคุณข้อนั้น
ของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสวรรค์
ทั้งหลาย.
สัตบุรุษทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ผู้
ยินดีแล้วในสัมมาปฏิบัติ เป็นพหูสูต แสวง
หาคุณเป็นผู้มีศีล ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ด้วย
อริยธรรม บัณฑิตทั้งหลายยกย่องความดีของ
สัตบุรุษนั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคลในท่ามกลาง
พระอรหันต์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิวาตวุตฺติ คือเป็นผู้มีความ
ประพฤติถ่อมตนแก่สัตวโลกทั้งปวง ด้วยความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยน. บทว่า
ขนฺตา ทุรุตฺตานํ คือเป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำชั่วร้ายที่ผู้อื่นกล่าว. บทว่า
อปฺปฏิกูลวาที คือไม่กระทำการถือเอาโดยความเป็นคู่ว่า ผู้ชื่อโน้นได้
ด่าเรา ผู้ชื่อโน้นได้ประหารเรา กล่าวแต่วาจาที่สมควรแก่เหตุเท่านั้น.
บทว่า อธิวาสนํ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความอดกลั้นนี้ของ
ผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคล คือเป็นมงคลที่ปราศจากโทษ.
บทว่า สหายมิตฺเต ได้แก่ ผู้เป็นสหายด้วย ผู้เป็นทั้งสหาย
และมิตรด้วย ในบุคคล 2 จำพวกนั้น ผู้ที่เล่นฝุ่นร่วมกันมา ชื่อว่า

สหาย ผู้ที่อยู่ร่วมกัน 10 ปี 12 ปี ชื่อว่าเป็นทั้งสหายและมิตร ไม่ดูหมิ่น
มิตรสหายเหล่านั้น แม้ทั้งปวงด้วยศิลปะอย่างนี้ว่า เรามีศิลปะ พวก
เหล่านี้ ไร้ศิลปะ หรือด้วยสกุล กล่าวคือกุลสมบัติอย่างนี้ว่า เรามีสกุล
พวกเหล่านี้ ไม่มีสกุล หรือด้วยทรัพย์อย่างนี้ว่า เรามั่งคั่ง พวกเหล่านี้
เป็นคนเข็ญใจ หรือด้วยญาติอย่างนี้ว่า เราถึงพร้อมด้วยญาติ พวก
เหล่านี้เป็นคนชาติชั่ว.
บทว่า รุจิปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญาดี คือมีปัญญางาม. บทว่า
อตฺถกาเล ได้แก่ ในเมื่อมีความต้องการ คือเหตุบางอย่างเกิดขึ้น.
บทว่า มตีมา ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้ปรุโปร่ง เพราะเป็น
ผู้สามารถในการกำหนดพิจารณาประโยชน์ คือสิ่งที่ต้องประสงค์ ไม่
ดูหมิ่นสหายเหล่านั้น. บทว่า สหาเยสุ ความว่า โบราณกบัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสหาย
ทั้งหลายโดยแท้.
ถ้าเช่นนั้น ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้อันมงคลที่ปราศจากโทษคุ้มครอง
แล้ว ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ในข้อนั้น บัณฑิตพึงกล่าวความสวัสดี
เพราะอาศัยสหายผู้เป็นบัณฑิต ด้วยกุสนาลิกชาดก
บทว่า สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต เป็น
มิตรแท้ของผู้ใด บทว่า สํวิสฺสฏฺฐา ได้แก่ ผู้ถึงความคุ้นเคย ด้วย
สามารถแห่งการเข้าไปสู่เรือนแล้ว ถือเวลาสิ่งที่ต้องการแล้ว. บทว่า

อวิสํวาทกสฺส คือผู้มีปกติกล่าวไม่คลาดเคลื่อน. บทว่า น มิตฺตทุพภี
ความว่า อนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร. บทว่า สํวิภาคี ธเนน
คือกระทำการแบ่งปันทรัพย์ของตนให้แก่มิตร. บทว่า มิตฺเตสุ ความว่า
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการได้ประโยชน์ เพราะอาศัยมิตรและการแบ่งปัน
ของผู้นั้น ว่า ชื่อว่าเป็นสวัสดิมงคลในมิตรทั้งหลาย จริงอยู่ เขาผู้
อันมิตรทั้งหลายเห็นปานนี้รักษาแล้ว ย่อมถึงซึ่งความสวัสดีในข้อนั้น
บัณฑิตพึงกล่าวความสวัสดี เพราะอาศัยมิตรทั้งหลาย ด้วยชาดกทั้งหลาย
มีมหาอุกกุสชาดกเป็นต้น.
บทว่า ตุลฺยวยา ได้แก่ มีวัยเสมอกัน. บทว่า สมคฺคา
ได้แก่ อยู่ร่วมกันด้วยความปรองดอง. บทว่า อนุพฺพตา ได้แก่
ประพฤติตามใจกัน. บทว่า ธมฺมกามา ได้แก่ ชอบสุจริตธรรม 3
ประการ. บทว่า ปชาตา ได้แก่ มีปกติยังบุตรให้ตลอด คือไม่เป็น
หญิงหมัน. บทว่า ทาเรสุ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า มาตุคาม
ผู้ประกอบด้วยคุณเหล่านี้อยู่ในเรือน ย่อมเป็นสวัสดิมงคลของสามี ใน
ข้อนั้น บัณฑิตพึงกล่าวความสวัสดีเพราะอาศัยมาตุคามผู้มีศีล ด้วยมณิ-
โจรชาดก สัมพุลชาดก และขัณฑหาลชาดก. บทว่า โสเจยฺยํ แปลว่า
ความเป็นผู้สะอาด. บทว่า อเทฺวชฺฌตา ความว่า ทรงทราบราชเสวก
คนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับพระองค์ คือด้วยความเป็นผู้ไม่
ร้าวรานเป็นใจ 2 กับพระองค์อย่างนี้วา ราชเสวกนั้นจักไม่แยกกับเรา
ออกไปเป็น 2 ฝ่าย.

บทว่า สุหทยํ มมํ ความว่า และทรงทราบราชเสวกคนใด
ว่า ราชเสวกผู้นี้มีความจงรักภักดีต่อเรา. บทว่า ราชูสุ เว ความว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวคุณความดีข้องราชเสวกนั้น ๆ
ที่มีอยู่ในพระราชาทั้งหลาย ว่าเป็นความสวัสดิมงคลโดยแท้ บทว่า
ททาติ สทฺโธ คือเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมแล้วให้. บทว่า สคฺเคสุ
เว
ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวคุณข้อนั้น
ของผู้นั้นว่า เป็นสวัสดิมงคล คือเป็นมงคลที่ปราศจากโทษในสวรรค์
คือในเทวโลก บัณฑิตพึงกล่าวอ้างข้อนั้นด้วยเรื่องเปรตและเรื่องวิมาน
เปรตให้พิสดาร. บทว่า ปุนนฺติ วทฺธา ความว่า สัตบุรุษทั้งหลาย
ผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ คือให้หมดจดด้วยอริยธรรม
บทว่า สมจริยาย ได้แก่ ในสัมมาปฏิบัติ บทว่า พหุสฺสุตา
ได้แก่ ผู้สดับมากเพื่อปฏิเวธ. บทว่า อิสโย ได้แก่ ผู้แสวงหาคุณ.
บทว่า สีลวนฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยอริยศีล. บทว่า อรหนฺตมชฺเฌ
ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมยกย่องความดีของสัตบุรุษนั้นว่า เป็น
สวัสดิมงคล อันจะพึงได้ในท่ามกลางพระอรหันต์ จริงอยู่พระอรหันต์
ทั้งหลาย เมื่อบอกมรรคที่ตนได้แล้วให้ผู้อื่นปฏิบัติ ย่อมยังบุคคลผู้ยินดี
ให้บริสุทธิ์ด้วยอริยธรรม แม้ผู้นั้นก็เป็นพระอรหันต์เทียว.
พระมหาสัตว์ถือเอายอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัต แสดงมงคล

แปดด้วยคาถา 8 คาถาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะสรรเสริญมงคลเหล่านั้น จึง
กล่าวคาถาสุดท้ายว่า :-
ความสวัสดีเหล่านั้นแล ผู้รู้สรรเสริญ
แล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญา
พึงเสพความสวัสดีเหล่านั้นไว้ในโลกนี้ ก็ใน
มงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล
และมุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคล
จริง ๆ ไม่มีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ มงฺคเล ความว่า ก็ใน
มงคลมีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล และมุตมงคลนั้น แม้มงคล
นั้นสักนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่าเป็นมงคลจริง ๆไม่มีเลย ก็พระนิพพานอย่าง
เดียวเท่านั้น เป็นปรมัตถมงคลจริง ๆ.
พระฤาษีทั้งหลายสดับมงคลเหล่านั้นแล้ว พอล่วงไปได้ 7,
8 วัน ก็พากันลาอาจารย์ไปในพระราชอุทยานนั้น พระราชาเสด็จ
ไปสำนักพระฤาษีเหล่านั้น แล้วถามปัญหา พระฤาษีทั้งหลายได้กล่าว
แก้มงคลปัญหา ตามทำนองที่อาจารย์บอกมาแด่พระราชา แล้วมา
ดินแดนหิมพานต์ ตั้งแต่นั้นมามงคลได้ปรากฏในโลก ผู้ที่ประพฤติใน
ข้อมงคลทั้งหลาย ตายไปได้เกิดในสวรรค์ พระโพธิสัตว์เจริญพรหม-
วิหาร 4 พาหมู่ฤาษีไปเกิดในพรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เรากล่าวแก้มงคลปัญหา
แม้ในกาลก่อน เราก็กล่าวแก้มงคลปัญหามาแล้ว ดังนี้ แล้วทรง
ประชุมชาดกว่า หมู่ฤาษีในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้
อันเตวาสิกผู้ใหญ่ผู้ถามมงคลปัญหาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตร
ในบัดนี้ ส่วนอาจารย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหามงคลชาดกที่ 15

16. ฆตบัณฑิตชาดก



ว่าด้วยการดับความโศก



[1483] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ขอพระองค์
จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จะมัวทรงบรรทมอยู่ทำไม
ความเจริญอะไรจะมีแต่พระองค์ด้วยพระสุบิน
เล่า พระภาดาของพระองค์แม้ใด เสมอด้วย
พระหทัย และเสมอด้วยพระเนตรข้างขวา ลม
ได้กระทบดวงหทัยของพระภาดานั้น ข้าแต่
พระองค์ผู้มีพระเกศางาม ฆตบัณฑิตทรงเพ้อไป.
[1484] พระเจ้าเกสวราช ทรงสดับคำของโรหิ-
เณยยอำมาตย์นั้นแล้ว อัดอั้นพระหฤทัยด้วย
ความโศกถึงพระภาดา มีพระวรกายกระสับ
กระส่ายเสด็จลุกขึ้น.
[1485] เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนคนบ้า
เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่วนครทวาราวดีนี้ว่า กระต่าย
กระต่าย ใครเขาลักกระต่ายของเจ้าไปหรือ ?